เล่าเรื่องระบบไฟฟ้าเพดาน งานที่มืออาชีพต้องวางแผนร่วมกัน
“ระบบไฟฟ้าเพดาน แหล่งรวมพลังของมืออาชีพ” เหตุผลที่ต้องกล่าวแบบประโยคข้างต้นก็เพราะ ระบบไฟเพดาน เปรียบเสมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงแสงสว่างให้กับอาคารบ้านเรือน แต่กว่าจะใช้งานได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย ต้องอาศัยการวางแผนและประสานงานจากมืออาชีพหลากหลายแขนง บทความนี้ Well Lighting ขอพาทุกท่านไปเจาะลึกเบื้องหลังงานออกแบบและติดตั้งระบบไฟเพดาน ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง และทำไมจึงต้องอาศัยการทำงานร่วมกับมืออาชีพในด้านต่างๆ กันครับ
ความสำคัญของระบบไฟฟ้าเพดาน
ระบบไฟฟ้าบนเพดาน ไม่ได้มีหน้าที่แค่ให้แสงสว่างเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความสวยงาม บรรยากาศ และความปลอดภัยของผู้ใช้งานอีกด้วย ดังนั้นการออกแบบและติดตั้งจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้ครับ
- ประเภทของอาคาร เป็นสิ่งแรกที่ต้องนึกถึงเลยครับ เพราะการวางระบบไฟจะต้องคำนึงถึงรูปแบบของสิ่งปลูกสร้างว่าอาคารประเภทอะไร ต้องการแสงสว่างแบบไหน ปริมาณแสงสว่างเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม
- การใช้งานพื้นที่ แต่ละพื้นที่ในอาคาร มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ต้องการแสงสว่างมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการทำงาน เช่น ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องอาหาร ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็ต้องการบรรยากาศของแสงที่แตกต่างกัน การวางระบบก็จะแตกต่างตามความต้องการที่จะใช้งานในพื้นที่นั้นๆ
- ความสวยงาม ไฟเพดาน สามารถเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยตกแต่ง เพิ่มมิติ และสร้างความสวยงามให้กับอาคารได้ หากจัดวางและดีไซน์รูปแบบเพดานออกมาดีๆ ก็อาจจะทำให้พื้นที่ในห้องดูกว้างกว่าเดิมได้อีกด้วย
- ความปลอดภัย ระบบไฟฟ้าต้องติดตั้งตามมาตรฐาน เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว ไฟช็อต ไฟไหม้ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตครับ
ทีมมืออาชีพที่ต้องวางแผนร่วมกัน
การออกแบบและติดตั้งระบบไฟเพดาน จำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญจากหลายสาขา ทีมมืออาชีพที่ร่วมงานกันส่วนใหญ่ ก็จะมีดังนี้ครับ
- สถาปนิก : ออกแบบผังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับโครงสร้างและการใช้งานของอาคาร
- วิศวกรไฟฟ้า : คำนวณขนาดสายไฟ เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า และออกแบบระบบไฟฟ้าให้ปลอดภัยตามมาตราฐาน
- ช่างไฟฟ้า : ติดตั้งระบบไฟตามแบบอย่างที่วิศวกรไฟฟ้าออกแบบไว้
- นักออกแบบภายใน : ออกแบบรูปแบบการจัดแสงสว่างในพื้นที่ต่างๆ ของสิ่งปลูกสร้างให้เหมาะสมกับการใช้งานและสร้างบรรยากาศที่ต้องการ
ขั้นตอนการทำงาน
โดยเมื่อจะเริ่มทำการออกแบบวางแผนการติดตั้งระบบไฟฟ้าส่องสว่างภายในอาคาร เราจึงจำเป็นเป็นต้องมีขั้นตอนคร่าวๆ ในการทำงานดังต่อไปนี้ครับ
1. ขั้นตอนการวางแผน
สถาปนิก วิศวกรไฟฟ้า และนักออกแบบภายใน จะร่วมกันวางแผนออกแบบระบบไฟเพดาน โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น เกี่ยวกับความสำคัญของระบบ
2. ขั้นตอนการออกแบบ
เมื่อวางแผนร่วมกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว วิศวกรไฟฟ้า จะทำการออกแบบรายละเอียดทางเทคนิค เช่น ผังไฟฟ้า รายการอุปกรณ์ไฟฟ้า ขนาดสายไฟ ฯลฯ
3. ขั้นตอนการติดตั้ง
ช่างไฟฟ้า จะทำการติดตั้งระบบไฟฟ้าตามแบบอย่างที่วิศวกรไฟฟ้าออกแบบไว้
4. ขั้นตอนการทดสอบ
เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว จะต้องมีการทดสอบระบบไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบว่าทำงานของระบบ ทำงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยหรือไม่
ความปลอดภัยของไฟฟ้าเพดาน
นอกจากออกแบบและติดตั้งด้วยผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าช็อต และอัคคีภัย อุปกรณ์ไฟที่ใช้ติดตั้งก็ควรมีความปลอดภัยสูงเช่นกัน โดยเลือกใช้โคมไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน มอก. หรือ IEC อย่างเช่น LED Strip ไฟดาวน์ไลท์ โคมห้อยเพดาน ฯลฯ จากทาง Well Lighting ที่ได้รับมาตราฐานและปลอดภัยทุกการใช้งาน ไม่ต้องกังวลเรื่องความสว่างเพราะ มีดัชนีความถูกต้องของสี CRI อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า 80 ซึ่งเป็นค่าการแสดงสีที่ดี มีค่า IP อยู่ในระดับมาตรฐานทุกชิ้น
ดังนั้นระบบไฟฟ้าบนเพดาน ก็เปรียบเสมือนงานศิลปะที่ต้องอาศัยการผสมผสานความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์จากมืออาชีพหลากหลายแขนง การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ได้ฝ้าเพดานที่สวยงามระบบไฟฟ้าที่ปลอดภัย และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ Well Lighting มีบริการให้คำปรึกษาฟรี สำหรับการออกแบบและติดตั้งระบบต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพที่สามารถออกแบบสิ่งที่คุณต้องการได้อย่างพิถีพิถัน สามารถติดต่อเราได้ทาง Facebook Fanpage และช่องทางอื่นๆ ที่หน้า Contact ของ Well Lighting ได้เลยครับ
สินค้าที่เกี่ยวข้อง